จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Thai Teachers TV

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความ เรื่อง มิติของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
มิติของเทคโนโลยีการศึกษากับการสอนทางไกล
     ความนำ                                                                                                                        การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนทุก ๆ สาขาอาชีพ  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้า ใจในหลักการ ทฤษฎีและวิถีชีวิตในการดำรงชีวิตในสภาพปัจจุบันและเนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามาช่วยสนับสนุนให้การศึกษาเกิดขึ้นได้ง่าย และสะดวก ต่อการเรียนรู้  คนเราจึงควรรับรู้  เข้าใจและนำข้อดีของเทคโนโลยีการศึกษานี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายของ การศึกษาที่ว่าการศึกษาทำให้เกิดการพัฒนา และการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุดคือการให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่ดีต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพสังคมและแม้จะอยู่ที่ใดก็สามารถได้รับการศึกษาตามต้องการ เนื้อหา การศึกษาในปัจจุ บันอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการศึกษามาช่วยจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น การรับรู้  และเข้าใจเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เทคโนโลยีการศึกษาสามารถแยก องค์ประกอบได้เป็น 3 มิติ  ดังนี้
 มิติที่   1 เกี่ยวข้องกับหน้าที่ (Function) ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษา ซึ่งมีอยู่ 3 ด้าน คือ
  1. ด้านการบริหารการศึกษาทางไกลจำเป็นต้องมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักการบริหารแนวใหม่ต้องใช้ศักยภาพหลาย  ด้าน ทั้งด้านบุคคล  บริหารวิชาการ  บริหารโครงสร้างพื้นฐาน  เป็นต้น
  1.1 ด้านวิชาการ  ดังที่กล่าวมาแล้ว  วิชาการในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กระบวนทัศน์ใน    การคิดเชิงวิชาการต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตัวอย่างการเปลิ่ยนแปลงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ก็คือ การกำหนดดาวนพเก้า หรือดาวเคราะห์ ว่ามีเพียง 8ดวงโดยดาวพลูโตถือว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ อันเป็นความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากที่เคยร่ำเรียนมาในอดีต
  1.2 ด้านการบริหาร  การศึกษาทางไกล ต้องเกี่ยวข้องกับการให้บริการกับผู้เรียนเป็นจำนวนมาก  ดังนั้น  การบริการต้องรวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพและนึกถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
มิติที่  2  เกี่ยวข้องกับระบบและการจัดการ (System  and  management)  ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษาซึ่งมี อยู่   7  ด้าน ได้แก่
  2.1  การจัดระบบปัจจุบันการทำงานใด ๆต้องยึดถือระบบ เพราะการมีระบบที่ดีหมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน หมายถึง ระบบ (System) มิได้หมายถึงเฉพาะเครื่องมือ และอุปกรณ์เท่านั้น ระบบที่ผู้เขียนได้พัฒนาขึ้นมามีองค์ประกอบคือ ดูด( Input) สับ ซับ ซึม ซัด (Process) สุด (Output) ส่าย (Feedback)
  2.2 พฤติกรรม การศึกษาทางไกล ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นหลัก รวมถึงรูปแบบการเรียนเพื่อผลิตและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะผู้เรียนนั้น 
  2.3  วิธีการการศึกษาทางไกล ต้องมีวิธีการที่หลากหลายใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและนำเทคโนโลยีต่างๆมาสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
  2.4  การสื่อสารการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอนทุก ๆ ประเภท ทั้งวิธีการสอนแบบดั้งเดิมและวิธีการสอนแนวใหม่  โดยเฉพาะการศึกษาทางไกลในปัจจุบันมีรูปแบบที่ไม่   เหมือนเดิม มีผู้ส่ง ผู้รับที่แตกต่างไปและใช้ช่องทางหลากหลาย  เป็นต้น
  2.5  สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางการเรียน  โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ มีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพ   และคุณภาพของการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบ
  2.6 การจัดการ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาคือการจัดการโดยเฉพาะ  การศึกษาทางไกล ในปัจจุบันต้องใช้เทคนิคการจัดการที่มีประสิทธิภาพ  จึงจะประสบผลสำเร็จ  ซึ่งมีทั้ง  4M  (Man, Money ,Material, และ Management) รวมถึงInformationและ Technology  ด้วยซึ่งเรียกได้ว่าต้องมี 4MIT นั่นเอง
  2.7  การประเมิน การประเมินผลเป็นส่วนประกอบของระบบ คือ  Input  Process Output   และ Feedback  การที่จะรู้ว่าระบบดีหรือไม่ดีต้องมีการประเมินอยู่เสมอ ๆ ทั้งภายในและภายนอกจึงจะรู้ว่าประสิทธิภาพ และคุณภาพเป็นอย่างไรและมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นเช่นไร ทั้งนี้การศึกษาทางไกลต้องยิ่งให้ความสำคัญในการประเมิน
 มิติที่  3  เกี่ยวข้องกับลักษณะของการศึกษา (Types) ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษาซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่
  3.1 การศึกษาในระบบซึ่งปัจจุบันนี้มีการเรียนการสอนในระบบทุกระดับและรัฐบาลได้ขยายการศึกษาใน   ระบบออกไปครอบคลุมทุกพื้นที่และมีการขยายการศึกษาภาคบังคับที่มีจำนวนปีมากขึ้น เทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาในระบบมาเป็นเวลาอันยาวนาน
  3.2 การศึกษานอกระบบปัจจุบันนี้รูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไป การศึกษานอกระบบได้เข้ามามีบทบาท   มาก โดยเฉพาะการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีการทำงานไปด้วยและศึกษาไปด้วยโดยไม่ต้องเสียเวลา แต่สามารถ    พัฒนาตนเองไห้ก้าวหน้าไปได้
  3.3 การศึกษาทางไกล การศึกษาทางไกล จะสัมพันธ์อย่างยิ่งกับประเด็นต่าง ๆ   คือ  การออกแบบและพัฒนา  รูปแบบการศึกษาทางไกลในปัจจุบันมีปรัชญา ว่า  ใครก็ได้  อยู่ที่ไหน ก็ได้สามารถเรียนรู้ได้ทุก   เวลา  ทุกหนทุกแห่ง  ไม่ได้ติดอยู่กับสถานที่หรือเวลา ดังนั้นการออกแบบวิชาต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเมื่อออกแบบและพัฒนาแล้วต้องมีการจัดการที่ดี ทั้งระบบการให้บริการ  การตรวจสอบ ติดตาม นอกจากนั้น  การสนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่ก็เป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาทางไกลปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายมาช่วยสนับสนุนมาก  โดยเฉพาะที่เรียกว่า ดิจิตอลอินเทอร์เน็ตเ็ว็บไซต์ รวมถึง  e-Leaning     ที่จะมีบทบาทต่อการศึกษารูปแบบนี้อย่างมากมาย
  3.4 การเผยแพร่และฝึกอบรม  นอกจากทำวิจัยทั้งติดตามผล และพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า มีองค์  ความรู้ใหม่ ๆ แล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องมีการเผยแพร่ให้ทราบข้อดี  ข้อด้อย และให้นำไปใช้มากขึ้นจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาความรู้อยู่เสมอๆ การเผยแพร่และฝึกอบรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
 
โดย ผศ.ดร.สังคม ภูมิพันธุ์
http://202.28.32.42/drsam/index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=1

บทความ เรื่อง แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย จะมีทิศทางในการใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1 มีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในลักษณะต่อไปนี้ มีการใช้สื่อการ สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังใช้ระบบการศึกษาทางไกลมากขึ้นในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา
2 การใช้สื่อการศึกษาที่ผลิตขึ้นจากท้องถิ่นอย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญ ๆ ทั้งนี้เพราะงบประมาณที่จำกัด โดยเฉพาะประเภทที่ยากจน
3 การจัดองค์การและการบริหารงานจะออกมาในรูปเป็นกลุ่ม เพื่อการประหยัด งบประมาณ ใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิผลที่สุด
4 การวางหน้าที่ของสายงานโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน แต่ขยาดเล็กใหญ่ตามความเหมาะสมของงานแต่ละแห่ง
5 การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและการหานวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ได้จริง  เริ่มมีมากขึ้น
6 แหล่งทรัพยากรการเรียน โดยเฉพาะบุคลากรในชุมชน เริ่มให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกับฝ่ายการศึกษามากขึ้น
7 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเน้นการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้าช่วยแก้ปัญหา
        ทั้งนี้ได้กำหนดให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งใน 9 หมวดมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ซึ่งเน้นว่า
        1) ส่งเสริมสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทุกรูปแบบ
        2) พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ทักษะ การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
        3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและหาความรู้ด้วยตนได้ตลอดชีวิต
        4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าคุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย 

บทความ เรื่อง พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
        ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

         สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp

บทความ เรื่อง เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
        การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)


นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

        ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.asp

บทความ เรื่อง เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้

1.  ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง
        1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร
        2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
        3) เทคนิคการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
        4) สถานที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การรัฐบาล

2.  เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.  การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียนการสอน